การบำรุงสมอง


การบำรุงสมอง





การบำรุงสมอง
  

    เชื่อกันว่าการบำรุงสมองให้มีเส้นประสาทเชื่อมถึงกันได้ดีนั้นเกิดจากการฝึกฝนความทรงจำระยะสั้นและระยะยาว การฝึกคิดคำนวณความคิดในการแก้ปัญหาอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยเพิ่มเส้นใยประสาทของเซลล์ประสาทให้มีการเชื่อมโยงถึงกันมากขึ้น พร้อมกันอย่างนี้อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีที่บรรจุอยู่ที่ปลายประสาทให้มีเพิ่มมากขึ้นด้วย พร้อมกันนี้อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีที่บรรจุอยู่ที่ปลายประสาทให้มีมากเพิ่มขึ้นด้วย สมองของมนุษย์มีประมาณหนึ่งล้านล้านเซลล์ และแต่ละเซลล์อาจเชื่อมโยงกับเซลล์ประสาทอื่นๆอีกประมาณ 80,000 เซลล์ แต่พลังที่สมองคนใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นเพียงพลังสมองที่คิดเป็นเศษเสี้ยวของพลังงานสมองทั้งหมดที่มีอยู่ ดังนั้นหมั่นฝึกใช้ความคิดและความจำอย่างเป็นระบบ แล้วจะช่วยในเรื่องความคิดความจำในแง่มุมด้านนั้นได้อย่างดี เช่น คนที่เป็นแฟนพันธุ์แท้นักการเมือง เมื่อใช้ความคิดความจำอยู่กับนักการเมืองบ่อยๆก็จะเป็นคนเก่งในด้านนั้น
   
    นอกจากเรื่องของการฝึกสมองก็เป็นเรื่องของการรับประทานอาหารและดูแลร่างกายโดยทั่วไปให้อยู่ในสภาพดี ไม่มีโรค เป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยป้องกันจากโรคอัลไซเมอร์ เพราะร่างกายของคนเราไม่ได้แยกแต่ละส่วนออกเป็นเอกเทศ หากแต่เชื่อมโยงถึงกันอย่างเป็นระเบียบ เช่น หลอดเลือดเชื่อมต่อกันทั่วร่างกาย และมีส่วนเชื่อมต่อส่งอาหารและเปลี่ยนสารต่างๆไปถึงหลอดน้ำเหลือง เป็นต้น คนที่เป็นโรคหลอดเลือดแข็งตัวต่อมาภายหลังอาจมีปัญหาของโรคอัลไซเมอร์ได้ คนที่เป็นเบาหวานต่อมาอาจเป็นโรคอัลไซเมอร์
    
    สมองอาศัยสารสื่อประสาท (neurotransmitter) อย่างน้อย 3 ชนิด ที่จะทำให้การส่งข้อมูลสมองเป็นไปอย่างถูกต้อง สารเล่านี้สร้างมาจากสารอาหารต่างๆรวมกันกับวิตามินและเกลือแร่

1.อะซิติลโคลีน (Acetylcholine) อะซิติลโคลีนมีมากในสารอาหารจำพวกไข่แดง ถั่ว ข้าวไม่ขัดสี ตับ เนื้อสัตว์ต่างๆ ปลา นม เนยแข็ง บริเวณเวอร์ยีสต์และผัก โดยเฉพาะ กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี

2.โดปามีน (Dopamine) มีมากในอาหารที่เป็นแหล่งของโปรตีนทุกชนิด เช่น เนื้อสัตว์ต่างๆ ผลิตภัณฑ์จากนม ปลา ถั่วต่างๆ รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง

3. เซโรนิน (Serotonin) เซโรนินสร้างมาจากอาหารคาร์โบไฮเดรตจำพวกแป้ง และน้ำตาล เช่น ข้าว บะหมี่ พาสต้า ผักประเภทหัว ธัญพืช และขนมปัง จะช่วยเพิ่มการดูดซึมกรดอะมิโนทริปโตเฟนซึ่งอาจจะเปลี่ยนเป็นเซโรโตนินในสมอง โดยพบว่าภายใน 30 นาที หลังรับประทานอาหารจะทำให้รู้สึกผ่อนคลาย
นอกจากสารสื่อประสาทแล้ว สมองยังต้องการสารอาหารพื้นฐานอย่างครบถ้วนเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้รับประทานอาหารให้ครบถ้วนและถูกสัดส่วนเป็นการดูแลสุขภาพร่างกายโดยทั่วไปและเป็นการดูแลในส่วนของสมองด้วย

อาหารที่มีประโยชน์ต่อสมองและเซลล์ประสาท รวมทั้งมีประโยชน์ในการต้านโรคแห่งความเสื่อม คือ

1.โปรตีน ซึ่งเป็นโครงสร้างสำคัญของสมอง และใช้ในการสร้างสารสื่อประสาทกรดอะมิโนทริปโตเฟนและไทโซีน จำเป็นต้องได้รับจากอาหารเพื่อนำไปสร้างสารสื่อประสาทเซโรโตนินและโดปามีน แหล่งอาหารโปรตีนสูงและไทโรซีนสูง เช่น อาหารทะเล ถั่วเหลือง เนื้อสัตว์ต่างๆ ไข่ และนม จะช่วยให้สมองมีพลังกระฉับกระเฉง ตื่นตัว ส่วนอาหารที่มีทริปโตเฟนสูง เช่น ข้าว ถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ งา และขนมหวานจะช่วยให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลายและอารมณ์ดี จึงเหมาะสำหรับเป็นอาหารในมื้อเย็นที่ร่างกายต้องการพักผ่อนนอนหลับ





2. แป้งและน้ำตาล เมื่อถูกย่อยจะได้กลูโคสที่เป็นพลังงานสำคัญของสมอง แต่คนไทยส่วนใหญ่จะมีปัญหารับประทานน้ำตาลมากเกินไป หรือรับประทานไม่เป็นเวลา ทำให้น้ำตาลในเลือดไม่ค่อยคงที่เสียมากกว่า จึงควรพยายามรักษาระดับน้ำตาลในร่างกายให้คงที่ เพราะหากมีการเปลี่ยนแปลงมากเกินไปจะมีผลต่อการทำงานของสมอง ทำให้ระดับของสารสื่อประสาทไม่สมดุล ซึ่งจะทำให้เกิดอาการมึนศรีษะ ง่วงนอน สับสน และอาจถึงกับเป็นลม หมดสติได้
แหล่งของแป้งและน้ำตาล ควรมาจากข้าว ธัญพืชชนิดต่างๆ ผักผลไม้เนื่องจากเป็นน้ำตาลเชิงซ้อนที่ต้องใช้เวลาในการย่อยให้น้ำตาล่อยๆออกมา และยังมีใยอาหาจะช่วยในการดูดซึมน้ำตาล ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่เพิ่มสูงเร็วเกินไป




3. ไขมัน เป็นส่วนประกอบหลักของสมอง ไขมันที่หุ้นเส้นใยประสาท ทำให้เพิ่มความเร็วในการขนส่งกระแสประสาทในสมอง และช่วยเพิ่มความจำด้วย ทั้งนี้ร่างกายสามารถสร้างไขมันได้เอง โดยไขมันที่ดีในปริมาณที่เหมาะสม เช่น กรดไขมันโอเมกา-3 มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของสมอง โดยพบว่าผู้ที่ได้รับกรดไขมันโอเมกา-3 ไม่เพียงพอ จะทำให้มีอาการซึมเศร้า ความจำ และความสามารถในการเรียนรู้ลดลง กรดไขมันโอเมกา-3 มีมากในปลาทะเลทุกชนิด เช่น ปลาเซลมอน ปาทูนา ปลาซาร์ดีน ปลาแมกเคอเรล และน้ำมันปลา ช่วยลดไขมันชนิดเลวในเลือดและทำให้เลือดไหลเวียนดี ป้องกันการอุดตัน เมื่อให้ผู้ป่วยโรคหัวใจอายุมากกว่า 50 ปี รับประทานปลาที่มีโอเมกา-3 ในปริมาณสูง รับประทาน 2 มื้อต่อสัปดาห์พบว่าสามารถลดอัตราการเสียชีวิตลงได้ร้อยละ 37 
ควรจำกัดไขมันอิ่มตัวจากสัตว์และจากพืช รวมทั้งไขมันที่ผ่านกระบวนการมาแล้ว (hydrogenated) เนื่องจากเป็นไขมันที่ไม่ดี เกาะติดผนังหลอดเลือดและอุดตันเส้นเลือดได้ เป็นปัญหาที่สำคัญที่ทำให้หลอดเลือดสมองตีบหรือแตก  ไขมันเลซิทีน ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี พบมากในถัวเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง และในไข่แดงรวมทั้งอาหารเสริมเลซิทีน






4. วิตามิน กลุ่มวิตามินบีชนิดต่างๆจะช่วยในการะบวนการสร้างพลังงาน เร่งการส่งต่อข้อมูลของเซลล์สมอง หากขาดวิตามินบี อาจทำให้สมองได้รับพลังงานไม่เพียงพอแล้วเกิดคลื่นสมองผิดปกติ มีอาการฉุนเฉียว ความสารารถในการคิดและจำน้อยลง





5.เกลือแร่ ทำงานร่วมกับสารอาหารอื่น พบว่าคัลเซียมช่วยในการส่งสัญญาณประสาทและความจำ เหล็กมีผลต่อสมาธิและการเรียนรู้ เหล็กในเม็ดเลือดแดงในเลือดไปเลี้ยงสมองและส่วนอื่นๆของร่างกายอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น ตับ ไข่แดง เครื่องในสัตว์ ผักใบเขียว








ที่มา(เนื้อหา)หนังสือเรื่อง เมนูเสริมสมองป้องกันอัลไซเมอร์ / พ.ญ.พิสุทธิพร ฉ่ำใจ:บก.เรียบเรียง
  ที่มา(รูปภาพ)https://www.google.com/search?q




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น